การเมืองไทย-อเมริกา ผ่านสายตา “แทมมี ดักเวิร์ธ”

เมื่อพูดถึงหนึ่งในสาวแกร่ง ที่เข้ามามีบทบาทในสังคมการเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา และตัวเธอเองก็มีเชื้อสายไทยอยู่ครึ่งหนึ่งด้วย โดยเธอคงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากพันโทหญิง ‘ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ’ เธอเป็นนักการเมืองหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายไทยคนแรก ที่ได้เข้าไปทำงานในสภาคองเกรสอีกครั้ง ก่อนหน้าที่จะมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง เธอก็เป็นทหารหญิงสุดแกร่ง ที่ผ่านสมรภูมิรบอันดุเดือดในอิรักมาแล้วและจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ก็ทำให้เธอต้องเสียขาทั้ง 2 ข้างไป แต่ถึงแม้จะเสียขาไป แต่จิตใจของเธอก็ยิ่งเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และได้อุทิศตัวเข้ามาทำงานในรัฐสภา เพื่อเป็นสิทธิ์เป็นเสียงให้แก่ประชาชน

สัมภาษณ์ ‘ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ’

หลังจากที่ผ่านการสัมภาษณ์ ก็ปรากฏพบว่า แทมมี่พยายามที่จะสื่อสารภาษาไทยอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะพูดได้อย่างไม่คล่องแคล่วเท่าไหร่นัก เนื่องจากว่าเธอจบจากโรงเรียนภาษาไทย เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่านั้นเอง โดยเธอได้ให้สัมภาษณ์ว่า ในขณะนี้ประเทศไทย กำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก เพราะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และเธอก็ยังมีความหวังว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ กับประเทศไทยในทุกระดับนั้น จะค่อยๆ กลับคืนฟื้นฟูขึ้นมาดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเศรษฐกิจ และการลงทุน เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม ที่การเมืองไทยนั้นกลับมามีเสถียรภาพ มีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจากประเทศสหรัฐ ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

และเธอก็ยังกล่าวอีกว่า เหล่านักการเมืองทั้งหลาย จะต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า นักการเมืองคือผู้รับใช้ของประชาชน หรือในภาษาไทยก็คือข้าราชการ ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานให้แก่ประชาชน และรับเงินเดือนที่มาจากภาษีของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในตำแหน่งใดก็ตาม จำเป็นที่ต้องใส่ใจ ให้ความดูแล รวมทั้งให้ความสำคัญกับประชาชนทุกคนในระดับ อย่างเท่าเทียมกัน มีความยุติธรรม และส่วนตัวแทมมี่เอง ก็เธอเชื่อว่านักการเมืองคนใดก็ตาม ถ้าลืมพื้นฐานที่ได้กล่าวมาดังนี้แล้ว ก็จะไม่อาจเป็นนักการเมืองที่ดีได้ และก็ไม่อาจเป็นที่รักของประชาชนได้เลย

เป็นสิทธิเป็นเสียงให้แก่ประชาชน

โดยแทมมี่นั้นเคยได้รับบทบาท เป็นทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา โดยเธอได้กล่าวว่า ในฐานะวุฒิสภาสมาชิกแน่นอนว่ามีอิทธิพลมากกว่าสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากว่ามีเพียงแค่ 100 คนเท่านั้น อีกทั้งยังมีวาระในการดํารงตําแหน่งยาวนานกว่า ก็คือ 6 ปี แต่ขณะเดียวกัน ทางด้านสภาผู้แทนราษฎร จะประกอบด้วยสมาชิกมากถึง 435 คนและในเรื่องของการลงพื้นที่ก็จะเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เล็กกว่า แต่การเป็นวุฒิสภานั้นก็มีงานที่เยอะมากกว่า เนื่องจากว่าเป็น ของดูแลคนทั่วทั้งรัฐที่มีขนาดใหญ่มาก แต่เธอก็ได้ยืนยันหนักแน่นว่า ไม่ว่าเธอจะได้รับดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสมาชิกสภา หน้าที่ของเธอก็มีเพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือ การรับใช้ประชาชนต้องสอดส่องดูแลว่าประชาชนในพื้นที่นั้น เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามสิทธิรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นตัวแทนในการประสานงาน ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อให้การดำเนินงานนั้น เป็นไปเข้าใจอย่างตรงกัน โดยเธอภาคภูมิใจในตัวเอง ที่ได้เป็นหนึ่งในกระบอกเสียงช่วยทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และบ้านเมืองพัฒนาก้าวไกลกว่าเดิม

และเธอยังกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นชาวอเมริกัน และใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกา แต่เธอก็เต็มไปด้วยความเป็นไทยอย่างเปี่ยมล้น เธอให้ข้อคิดทิ้งท้ายไว้ว่า การเป็นประชาธิปไตยเต็มร้อยตามหลักทฤษฎี อาจจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อนำมาปฏิบัติจริงแล้ว แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ต้องพบกับอุปสรรคปัญหาต่างๆ อยู่เสมอเพราะฉะนั้นก็อาจจะใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นอีกไปอีก แต่ก็โชคดีที่พบว่าคนไทยในปัจจุบันนี้ มีความตื่นตัว ในเรื่องของการเมืองมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีมากเพราะแสดงว่าประชาธิปไตยกำลังเดินหน้า